10/05/2014

ผักแต้ว

ต้นแต้วบ้านต้องตา
ชื่อ"ผักแต้ว/ผักติ้ว

ชื่อพื้นเมือง "แต้ว(ไทย) ติ้วขน(กลางและนครราชสีมา)
ติ้วแดงติ้วยางติ้วเลือด(เหนือ) แต้วหิน(ลำปาง)
กุยฉ่องเซ้า(กระเหรี่ยง ลำปาง) กวยโซง(กระเหรี่ยง
กาญจนบุรี)ตาว(สตูล)มู โต๊ะ(มาเลเซีย-นราธิวาส)
เน็คเคร่แย(ละว้า-เชียงใหม่)รา เง้ง(เขมร-สุรินทร์)ติ้วขาว
(กรุงเทพฯ)ติ้วส้ม(นครราชสีมา )เตา(เลย)ขี้ติ้ว ติ้วเหลือง
(ไทย) ผักติ้ว(อุบลราชธานี มหาสารคาม-อีสาน)

ประโยชน์ทางอาหาร

ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ยอด อ่อนใบอ่อนและช่อดอกอ่อนรับประทานเป็นผักได ยอดอ่อนและใบอ่อนผลิใน
หน้าฝนและหน้าหนาว ส่วยดอกออกสะพรั่งในช่วงปลายฤดูหนาว ฤดูร้อน ถึงต้นฤดูฝน
การปรุงอาหาร ชาวไทยภาคกลางและชาวอีสานรับประทานผักแต้วเป็นผักโดยที่ชาวไทยภาคกลาง
รับประทานยอดแต้วอ่อน เป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกปลาร้า ดอกแต้วมีรสเปรี้ยวนิดๆจิ้มกับน้ำพริก
ปลาร้ามีรสอร่อยมาก ส่วนชาวอีสานรับประทานยอดอ่อน ใบอ่อนและช่อดอกเป็นผักสดแกล้มลาบ ก้อย น้ำพริก ซุป หมี่กะทิ หรือนำไปแกง เพื่อให้อาหารออกรสเปรี้ยว(เป็นเครื่องปรุงรส) ส่วนดอกนำไปต้ม
แกง บางครั้งแกงรวมกันทั้งยอดอ่อนและดอกอ่อนเป็นผักที่ชาวอีสานนิยมรับประทานมาก ชนิดหนึ่ง
และมีจำหน่ายในท้องตลาดของท้อง ถิ่นอีสาน

รสและประโยชน์ต่อ สุขภาพ

ยอดอ่อนและดอกอ่อนของผักติ้วมี รสเปรี้ยว ผักติ้ว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 58 กิโลแคลอรี่
ประกอบด้วยเส้นใย 1.5 กรัม แคลเซี่ยม 67 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม เหล็ก 2.5 มิลลิกรัม
เบต้า-แคโรทีน 4500 ไมโครกรัม วิตามินเอ 750 ไมโครกรัมของเรตินอล วิตามินบีหนึ่ง 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 0.67 มิลลิกรัม ไนอาซิน 3.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

ข้อมูลพิเศษ เกี่ยวกับคุณค่าทางเภสัชของผักติ้วในแวดวงวิทยาการ

นัก วิจัย ม.ขอนแก่น นำพืชสมุนไพร 14 ชนิดจากโคกภูตากา อุทยานแห่งชาติภูเวียงศึกษาศักยภาพเบื้องต้นในการป้องกันมะเร็ง เผยผลการทดลองสารสกัดจาก “ใบติ้ว” ผักพื้นบ้านภาคอีสาน มีฤทธิ์ต้านมะเร็งตับ และไม่พบทำลายเซลล์ปกติ ส่วนด้านการรักษาอยู่ในระหว่างการทดลอง พร้อมทดลองในเซลล์เม็ดเลือด เซลล์มะเร็งเต้านม

No comments:

Post a Comment