1/30/2015

มาถึง สถานี Tomita แล้ว

มีปลูกต้นดอกไม้ไว้ที่สถานีรถไฟไว้ต้อนรับฤดูชมงานซะด้วย
 ถึงแล้ว Tomita เป็นเมืองเล็กๆ อยู่ทางเหนือของโตเกียว โดยนั่ง Tohoku shinkansen ไปลงที่เมือง OYAMA จากนั้นเปลี่ยนขบวนเป็น JR Ryomo Line มุ่งสู่ Tomita


ภาพนี้พอมองเห็นป้ายชื่อสถานีหน่อย
ลงรถไฟแล้วเดินเข้าไปในสถานีแล้วเดินทะลุออกหลังสถานีก็ไปเจอกับบ้านคนญี่ปุ่นทันที เลยถ่ายภาพไว้แต่มองหาเจ้าของบ้านไม่เจออีกเหมือนเคย



ถึงคราวต้องเดินไปที่ Askaga Flower Park ล่ะ


ออกจากสถานี ต้องเดินต่ออีกประมาณ 1 กิโลเมตร อากาศวันนี้ท้องฟ้าแจ่มใส มีแดดด้วย โน่นล่ะทางเดินอยู่ข้างหลังพวกเรา ถนนค่อนข้างโล่งดีรถไม่มาก สะอาดสะอ้านคงที่คงวาทุกแห่ง

บรรยากาศข้างทาง....ชักเริ่มร้อนแล้วน่ะ


เลยโค้งนี้ก็ถึงแล้วจร้า..........เย้...แหมเดินเกือบจะถึงอยู่แล้วอยู่ๆฝนเจ้ากรรมตกมาอย่างแรง แต่ดีที่เราติดร่มมา ๒ คัน ๕๕๕  ไม่ได้แอ้มข้าหรอกโว้ย



ฝนหยุดตก มาถึงที่จำหน่ายตั๋วเข้าที่ด้านหน้า Front Gate Ticket Sales มาที่นี่ก็เพื่อมาชมสวนดอกไม้สวยๆที่ Askaga Flower Park ซึ่งดอกไม้ พรรณไม้ เมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ กระถางต้นไม้สวยๆ ตุ๊กตาและของฝากต่างๆมากมายเหมือนเรามาเที่ยวงานเกษตรแฟร์  รวมทั้งอาหารการกินจบวงจร



ซื้อตั๋วก่อน



ได้ตั๋วมาแล้ว





1/21/2015

โรคนับเป็นร้อย......มีที่มาจากอารมณ์

ในทัศนะขององค์รวม มีแพทย์แผนจีน,ไทย,อยุรเวท,การแพทย์ธิเบต มีหลักคล้ายๆกัน ในส่วนแผนจีนอธิบายไว้ดังนี้
จิตได้เชื่อมโยงผลกระทบของร่างกายทั้งอวัยวะตันภายในทั้ง ๕ (หัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต) อวัยวะกลวงภายในทั้ง ๖ (กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ซานเจียว) เส้นลดปราณที่สัมพันธ์กับอารมณ์และสิ่งกระตุ้นทั้งมวลอย่างแนบแน่น ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงคือเรื่องของอารมณ์ทั้ง ๗ กับการเกิดโรค



อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย ประกอบด้วยอารมณ์ ๗ อย่างด้วยกัน คือ
-- ดีใจ
-- โกรธ
-- วิตก
-- กังวล
-- เศร้า
-- กลัว
-- ตกใจ
(เนื่องจากอารมณ์วิตกกับอารมณ์กังวลมีลักษณะใกล้เคียงกัน และอารมณ์กลัวกับอารมณ์ตกใจก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน จึงจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เหลือเป็นอารมณ์ทั้ง ๕)
อารมณ์ทั้ง ๗ นับเป็นสาเหตุก่อโรคที่เป็นเหตุปัจจัยจากภายในร่างกาย การได้รับผลกระทบจากอารมณ์ใดที่มากเกินไปและนานเกินไป จะทำให้เกิดโรคกับอวัยวะภายในและเส้นลมปราณได้

อารมณ์ดีใจ เป็นอารมณ์กระตุ้นในด้านบวก เป็นไปในทางให้ประโยชน์แก่ร่างกาย

อารมณ์โกรธ เศร้าโศก เสียใจ กลัว ตกใจ เป็นอารมณ์กระตุ้นในด้านลบ เป็นไปในทางให้โทษกับร่างกาย

อารมณ์ครุ่นคิด วิตกกังวล เป็นอารมณ์พื้นฐานของการเคลื่อนไหวของอารมณ์ การใช้ความคิดอย่างมีสติ มีปัญญา และสอดคล้องกับความเป็นจริงทางภาวะวิสัย จะมีทางออกทำให้อารมณ์ถูกเปลี่ยนแปลงรุนแรงไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป

อารมณ์ทุกอารมณ์เป็นความปกติที่เกิดกับปุถุชน แต่ต้องมีไม่มากหรือน้อยเกินไป และไม่นานจน เกินไป เพราะความสุดขั้วของอารมณ์ล้วนกระทบต่อสมดุลของธาตุภายในร่างกาย และเส้นลมปราณจะทำให้เกิดโรคได้

อารมณ์ดีใจ : เกี่ยวข้องกับหัวใจลำไส้เล็ก
โบราณกล่าวว่า “ดีใจเกินไปทำลายหัวใจทำให้เลือดไหลเวียนช้า” หัวใจมีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือด ภาวะที่มีอารมณ์ดีใจ มีความสุข การไหลเวียนของพลังและเลือดจะไหลเวียนช้า ไม่ถูกเร่งเร้า มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อลดความเครียด เกิดความกระชุ่มกระชวย แต่ถ้าดีใจมากเกินไปจะทำให้จิตใจไม่รวมศูนย์ขาดสมาธิ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ประเดี๋ยวหัวเราะประเดี๋ยวร้องไห้ ขาดความสงบ ฟุ้งซ่าน หรือมีอารมณ์คลุ้มคลั่งวิปริตไป

อารมณ์โกรธ : เกี่ยวข้องกับตับ – ถุงน้ำดี
โบราณกล่าวว่า “โกรธมากเกินไปทำลายตับ ทำให้พลังวิ่งย้อนสู่เบื้องบน” เมื่อพลังตับย้อนสู่เบื้องบน คือ ภาวะไฟตับสูง ทำให้มีอาการหงุดหงิด ปวดศีรษะ ตามัว ปวดตา ตาบวม ความดันเลือดสูง ถ้าเป็นมากจะทำให้ปวดศีรษะรุนแรงและมีอาการวูบหมดสติ เป็นอัมพาต (ตรงกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและแตก) นอกจากนี้ยังทำให้ปวดชายโครง คัดแน่นเต้านมหรือมีก้อน ประจำเดือนมาผิดปกติ รู้สึกเหมือนมีก้อนในคอ แน่นท้อง บางรายมีอาเจียนเป็นเลือด คลื่นไส้อาเจียน

ตัวอย่างที่พบบ่อย คือ ผู้หญิงใกล้มีประจำเดือน ถ้ามีความผิดปกติของอารมณ์เป็นพื้นฐาน เช่น หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย จะมีอาการมากขึ้น และกระทบกระเทือนไปยังอวัยวะภายใน คือ ตับ ถุงน้ำดี ทำให้มีอาการปวดแน่น คัดเต้านม หรือมีก้อนที่เต้านม ซึ่งทำให้อยากกินอาหารรสเปรี้ยว (วิ่งเส้นตับ)

อารมณ์วิตก – กังวล : เกี่ยวกับม้าม – กระเพาะอาหาร
โบราณกล่าวว่า “วิตกกังวล ทำลายม้าม ทำให้พลังถูกอุดกั้น” การใช้ความคิดมากเกินไป คิดไม่ถูก คิดไม่เป็น คิดแล้วไม่มีทางออกที่ดี ทำให้เกิดอารมณ์อื่นๆ ตามมา ความวิตกกังวลเกินเหตุมีผลต่อระบบการย่อยดูดซึมอาหาร (แผนปัจจุบันเรียกว่า เครียดลงกระเพาะอาหาร) ทำให้เบื่ออาหารท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ถ่ายเหลว ฯลฯ ถ้าเป็นเรื้อรัง จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความจำเสื่อม นอนไม่หลับ ฝันบ่อย ฯลฯ อันเป็นผลจากากรอุดกั้นของพลังขัดขวางการย่อยดูดซึมอาหาร และการพร่องของเลือดและพลังที่ไปเลี้ยงสมอง

อารมณ์เศร้าโศก – เสียใจ : เกี่ยวกับปอด – ลำไส้ใหญ่
โบราณกล่าวว่า “เสียใจเกินไปทำลายปอด ทำให้พลังสูญหาย” การเศร้าโศกเสียใจมากและเรื้อรังจะทำให้พลังการไหลเวียนปอดอุดกั้นและถูกทำลาย ผู้ป่วยจะรู้สึกหดหู่ อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรงเหนื่อยง่าย

อารมณ์กลัว – ตกใจ : เกี่ยวกับไต – กระเพาะปัสสาวะ
โบราณกล่าวว่า “กลัว ตกใจ เกินควรทำลายไต ทำให้พลังแปรปรวน พลังย้อนลงด้านล่าง” อารมณ์กลัว ตกใจเกินควรทำให้พลังที่เกี่ยวกับการพยุง เหนี่ยวรั้งลดน้อยลงทำให้ปัสสาวะอุจจาระอั้นไม่อยู่ (ตกใจจนฉี่ราด) ขา ๒ ข้างอ่อนแรง ฝันเปียก ภาวะจิตใจสับสน แปรปรวน พูดจาเพ้อเจ้อ พฤติกรรมผิดปกติ

ค่ะกำลังเข้าใจตัวเองมากขึ้นแล้วใช่ไหม คำตอบคือแล้วฉันจะอารมณ์ไม่ดีไปทำไม เมื่อวานก็รู้แล้วระดับสารหลั่งสุขจะลดลงไปเมื่อเครียดค่ะ พรุ่งนี้จะอธิบายเพิ่มให้นะคะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากหมอชาวบ้าน

1/09/2015

ทิวทัศน์นั่งรถไฟ JR Ryomo Line ไปสถานี Tomita

ลงจาก Shinkansen ที่รวดเร็วหรูหรามาเป็นรถไฟ Local Train สาย JR Ryomo line ไปสถานี Tomita  ช่วงนั่งมาได้เก็บภาพรายทางมานิดหน่อย ส่วนมากจะเป็นทุ่งหญ้า ทุ่งนาเขียวขจี หรือไม่ก็อยู่ช่วงกำลังเตรียมดิน




เท่าที่มองดูตลอดทางไม่เคยเห็นคนญี่ปุ่นจุดไฟเผาหญ้าในแปลงนาเลย ไม่เหมือนบ้านเราเมื่อเสร็จฤดูการเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องเผาหญ้าหรือซังข้าวหมด หน้าดินก็แห้งเต็มไปด้วยขี้เถ้า ไส้เดือนหนีตายเกือบหมดปลูกอะไรก็ไม่งาม ต้องใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แล้วอย่างนี้มันจะรวยได้ยังไง

เส้นทางนี้ยังสภาพดั่งเดิมอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเห็นบ้านช่องเป็นแบบสมัยใหม่ส่วนใหญ่  ช่วงที่ผ่านถึงสถานีที่ ๓ ยังพอมีดอกสากุระให้เห็นอยู่บ้าง ภูเขามีต้นไม้หนาแน่นเขียวเต็มหมดไม่หัวโล้น ดูแล้วสวยงามสบายตาดี



1/05/2015

สถานีโอยามะ (Oyama)

แผนการเดินทางวันนี้คือต้องการไปเที่ยวที่สวนดอกไม้อะชิคะกะ (Ashikaga Flower Park)ซึ่งเป็นสวนดอกไม้ที่อยู่ในจังหวัดโทชิกิ

การเดินทางจากโตเกียว มาสวนดอกไม้อะชิคะกะได้ ๒ ทาง คือ
1. JR Line: ขึ้นรถไฟชินคันเซ็นสายโทโฮคุ (Tohoku Shinkansen)หรือ JR Utsunomiya(JR Shonan-Shinjuku) จากสถานีโตเกียว ไปสถานีโอยามะ (Oyama)แล้วเปลี่ยนรถไปต่อ JR Ryomo Line(Ryomo-sen)จากสถานี Oyama ไปสถานี Tomita

2. Tobu Line: จากสถานีอะสะคุสะ (Asakusa) ขึ้นรถไฟ Tobu Isasaki Line ไปสถานี อะชิคะกะ  แล้วจะมีรถบัสพาไปกลับสวนดอกไม้อะชิคะกะ



พวกเราหลังจากที่ลงรถไฟ Shinkansen ที่สถานีโอยามะ เราก็จะขึ้นรถไฟของสายรถไฟท้องถิ่นที่ชื่อว่า  Ryomo Line รถไฟท้องถิ่นของเขาก็เหมือนๆกับรถไฟบ้านเรา คือความเก่า สภาพรถไฟดูออกจะโบราณหน่อย แต่ที่ไม่เหมือนเลยคือดูสภาพภายในตัวรถแล้วสะอาด น่านั่งมาก เบาะนั่งนี่สวยงามการวางติดตั้งเก้าอี้กว้าง โล่ง นั่งสบาย สุดยอดมาก


รถไฟสายนี้ไม่ค่อยมีคนใช้เยอะเหมือนในตัวเมือง จึงทำตัวสบายๆ ไม่เร่งรีบ ช่วงที่ยังรอรถอยู่ได้เดินไปดูผังเส้นทางเพื่อจะดูว่ามันจะมีกี่สถานี ก็มีเจ้าหน้าที่เดินเขามาหาและถามว่ามีปัญหาอะไรมั้ย ยังคิดในใจก็ดีน่ะมีเจ้าหน้าที่ใส่ใจดี ทางที่ดูผังเส้นทางเราต้องผ่าน ๖ สถานีจึงจะถึงที่หมายปลายทาง

แค่ ๖ สถานีก็ถึงแล้วจร้า....


สภาพภายในรถไฟ JR Ryomo Line


ร้านอาหารภายในสถานีรถไฟเป็นแบบยืนกินง่ายๆเลย

(ช่วงหน้าเป็นทิวทัศน์ ๒ ข้างทาง)

1/02/2015

คาถาอายุยืน

ไว้เตือนความจำตนเอง ว่าต้อง.......


Cr. from FB